เกิดมาพิการซ้ำซ้อน

“เพดานโหว่ ลิ้นไก่สั้น หัวใจรั่ว ลำตัวคด ใบหน้าบิดเบี้ยว มีขาเล็กลีบ 1 ข้าง รูหูตีบเล็ก และไม่มีรูทวาร” น้องใบเตย ต้องเผชิญความเจ็บปวดและต้องทนทุกข์จากบาดแผลที่เกิดจากการผ่าตัดทุกครั้ง พ่อของน้องใบเตยเปิดใจพร้อมเล่าเรื่องราวความทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้นกับลูกสาวให้ฟังว่า“สงสารลูกจับใจตั้งแต่วินาทีแรก ที่ได้เห็นหน้าพ่อไม่เคยตั้งคำถามว่าทำไมลูกเกิดมาไม่เหมือนคนอื่น ได้แต่ถามตนเองอยู่ในใจว่าจะเลี้ยงดูเขาอย่างไรเพื่อไม่ต้องทุกข์ทรมานจากร่างกายพิการและภาวะแทรกซ้อนที่เสี่ยงถึงชีวิต”

ไม่มี "รูทวาร" ตั้งแต่เกิด

อายุ 1 เดือน ลูกต้องเข้ารับการผ่าตัด “รูทวาร” ที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เพื่อให้มีช่องทางขับของเสียออกจากร่างกาย โดยแพทย์ต้องเจาะช่องเป็นพิเศษให้ขับถ่ายได้ และนี่เป็นครั้งแรกที่เด็กตัวเล็ก ๆ ต้องต่อสู้กับความเจ็บปวดจากการรักษาเพื่อแลกกับการมีชีวิตต่อ แม้จะไม่ปกติเช่นคนอื่นๆ พ่อยอมรับว่าเสียงร้องไห้ด้วยความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดของน้องใบเตย ยังฝังอยู่ในความรู้สึกที่นึกถึงครั้งใด หัวใจของผู้เป็นพ่อและแม่แทบแตกสลาย


เด็กเกินกว่าจะเปลี่ยนลิ้นหัวใจ

2 ขวบเศษ แพทย์ตรวจพบอีกว่าน้องใบเตยมีลิ้นหัวใจรั่ว แต่ด้วยอายุยังน้อย สภาพร่างกายและจิตใจของน้องขณะนั้น แพทย์จึงปรับแผนการรักษาตามอาการ นับว่ายังเป็นโชคดีที่อาการลิ้นหัวใจเริ่ม ดีขึ้นตามลำดับจนแพทย์วินิจฉัยว่าไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัด และติดตามอาการต่อเนื่อง


ถอนฟัน 20 ซี่ เพื่อให้เคี้ยวข้าวได้

4 ขวบ น้องใบเตยต้องผ่าตัดใหญ่อีกครั้ง เพื่อให้สามารถสื่อสารและกินอาหารได้ดีขึ้น แพทย์ผ่าตัดและตกแต่งอาการเพดานโหว่ ลิ้นไก่สั้น กรามเบี้ยว น้องใบเตยต้องถูกถอนฟันซี่เล็ก ๆ ในช่องปากออกทั้งหมด 20 ซี่ ผ่าตัดใส่แผ่นพลาสติกปิดช่องเพดานปาก ดึงกราม เพื่อให้สามารถเคี้ยวอาหาร และพูดออกเสียงได้ หลังจากแพทย์ผ่าตัดปรับแต่งโครงสร้างฟันและกราม ก็พบว่าน้องใบเตยยังมีรูหูเล็กผิดปกติ ทำให้มีปัญหาด้านการฟัง แพทย์จึงได้ใส่ท่อพลาสติกขยายรูหูเพื่อให้สามารถได้ยินเสียงได้ชัดเจนขึ้น

มีขาครั้งแรกเมื่ออายุ 8 ขวบ

8 ขวบ น้องใบเตยได้รับ “ขาเทียม” จากโรงพยาบาลศิริราชและสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ แต่เมื่อร่างกายเติบโตขึ้น ขาเทียมที่ใส่เริ่มคับทำให้เจ็บขา น้องใบเตยจึงต้องการมีขาเทียมใหม่ไว้ใช้ในชีวิตประจำวัน ปิดเทอมนี้ (เม.ย.- พ.ค.66) น้องใบเตยและพ่อเตรียมเดินทางไปพบแพทย์ประเมินการรักษาเพื่อทำขาเทียมใหม่และผ่าตัดกระดูกลำตัวที่เริ่มโค้งงอมากขึ้นที่สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ


เจ็บแค่ไหนแต่หัวใจยังสู้

“ร่างกายของหนูนั้นไม่เหมือนคนอื่น ทุกครั้งที่หมอรักษาเจ็บมากแต่ต้องอดทน หนูจะได้หายหนูจะไม่ยอมแพ้ในโชคชะตา ถ้ายังมีชีวิตอยู่ หนูจะได้อยู่กับพ่อแม่ จะรักพ่อแม่และจะดูแลตัวเองให้มากที่สุด” น้องใบเตยพูดด้วยน้ำเสียงอันแสนสดใส ใบหน้าเปื้อนรอยยิ้ม และเพื่อแบ่งเบาภาระของผู้เป็นพ่อ ทุกวันนี้น้องใบเตยจึงพยายามช่วยเหลือตัวเอง ทั้ง กินข้าว อาบน้ำ และเปลี่ยนผ้าอ้อมจากของเสียที่ขับออกมาตลอด ในวันที่ไปโรงเรียนน้องใบเตยจะต้องกลับบ้านตอนพักกลางวันเพื่อมาเปลี่ยนผ้าอ้อม



เปลี่ยนความอับอายให้กลายเป็นความหวัง

“โตขึ้นหนูอยากขายของออนไลน์ อยากช่วยพ่อหาเงิน พ่อและแม่ต้องหาเงินมารักษาหนูแล้วหนูจะพยายาม ช่วยเหลือตัวเองให้ได้มากที่สุดเท่าที่หนูจะทำได้” นี่คือคำพูดจากใจ “น้องใบเตย” เด็กหญิงหัวใจแกร่ง


ชีวิตน้อย ๆ กำลังรอคอยความเมตตาจากท่าน

ท่านช่วยเด็กด้อยโอกาสที่ต้องเผชิญวิกฤติโรคร้ายและอาการป่วยเรื้อรังได้ ขอเพียงท่านตอบรับความช่วยเหลือ มูลนิธิฯ จะดำเนินการกู้วิกฤติชีวิตเด็ก ๆ อย่างเร่งด่วน

ความพิการซ้ำซ้อน

ลำตัวคดไม่มีรูทวาร
ใบหน้าบิดเบี้ยวรูหูตีบเล็ก
ไม่มีขาขวา
เพดานโหว่ลิ้นไก่สั้น
ขาซ้ายเล็กลีบ

เกิดมาพิการซ้ำซ้อน “น้องใบเตย” ต้องเผชิญความเจ็บปวดและต้องทนทุกข์จากบาดแผลที่เกิดจากการผ่าตัดทุกครั้ง
*พิการซ้ำซ้อน หมายถึง ผู้ที่มีความพิการมากกว่า 1 อย่างขึ้นไปต่อบุคคลเพียงคนเดียวคือมีความพิการหลักบวกเพิ่มกับความพิการอื่นที่เสริมเข้ามา ทำให้เกิดความพิการซ้ำซ้อนในร่างกาย

เด็กที่อยู่ในภาวะวิกฤติ

"ผมเหนื่อยเหลือเกิน"

น้องต้นกล้า อายุ 11 ปี ป่วยเป็นโรคหอบหืด ตั้งแต่อายุ 3 เดือน บ่อยครั้งที่ต้องรักษาตัวในห้อง ไอ.ซี.ยู. จากอาการที่รุนแรง มีไข้สูงชักเกร็ง ตาค้าง กัดลิ้นตัวเอง ตอนอายุ 6 ขวบ แพทย์ต้องตัดปอดทิ้งจากอาการปอดแฟบ ทุกวันนี้น้องต้นกล้าจึงเหนื่อยง่ายและบางครั้งหายใจเองไม่ไหว ต้องใช้เครื่องผลิตออกซิเจนที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ต.บ้านหนองสนม (รพสต.) ให้ยืมมาใช้ยามฉุกเฉิน นอกจากต้องทนทุกข์จากโรคหอบหืดที่เป็นมานาน เมื่อต้นปี 2566 ที่ผ่านมา แพทย์ตรวจพบว่าน้องต้นกล้า มีภาวะผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว 10 มิลลิเมตร บริจาค

"ผมอยากเดินได้เหมือนคนอื่น แต่ขาหนักและปวดมากเดินไม่ไหวครับ"

น้องบุญรอด อายุ 14 ปี ป่วยเป็นโรคลมชักและโรคเท้าโต ทำให้พิการแต่กำเนิด หมอที่โรงพยาบาลสวนดอก จ.เชียงใหม่บอกกับแม่น้องบุญรอดว่าเป็นความผิดปกติจาก เส้นเลือดฝอยที่ขาซึ่งมีเป็นจำนวนมาก ขณะที่กล้ามเนื้อก็ขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆไม่ใช่ “โรคเท้าช้าง” ด้วยขาที่ใหญ่ขึ้นทำให้น้องบุญรอดปวดขามาก จึงต้องผ่าตัดขาหลายครั้งที่ โรงพยาบาลลอง จ.แพร่ แต่เนื่องจากกระดูกด้านในที่พรุน ทำให้ขาหักได้ง่าย โอกาสที่น้องบุญรอดจะเดินได้จึงมีน้อยเต็มที่ บริจาค

กองบุญกู้วิกฤติ

เพื่อชีวิตเด็กด้อยโอกาส

กองบุญกู้วิกฤติฯ เป็นกองบุญที่ มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ. เพื่อเด็กและเยาวชนฯ จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่เด็กด้อยโอกาสที่ชีวิตต้องประสบกับภาวะวิกฤติ มีความเป็นอยู่อยากลำบากและไม่สามารถที่จะใช้ชีวิตเช่นเด็กปกติทั่วไปได้ และเพื่อให้เด็กเหล่านั้นสามารถกลับสู่ภาวะปกติหรือใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด และในปีที่ผ่านมามูลนิธิฯ ได้ให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษแล้ว 203 คน


เด็กที่อยู่ในภาวะวิกฤติ

  1. เด็กเจ็บป่วยรุนแรง
  2. เด็กพิการหรือ ไม่มีผู้ใหญ่ดูแลหรืออาศัยอยู่กับผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย
  3. เด็กต้องรับภาระเลี้ยงดูคนในครอบครัวทั้งที่เป็นผู้พิการ หรือเป็นผู้สูงอายุ
  4. เด็กที่ขาดความมั่นคงปลอดภัย ด้านที่อยู่อาศัย





ปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือเด็กที่อยู่ในภาวะวิกฤติ

ระยะเร่งด่วน

  • สนับสนุนการช่วยเหลือเฉพาะทาง
  • สนับสนุนอาหารและน้ำเพื่อการยังชีพ
  • ปรับปรุง ซ่อม สร้าง ที่พักอาศัยให้ปลอดภัยถูกสุขลักษณะ

ระยะฟิ้นฟู

  • สร้างแหล่งอาหารในครัวเรือน เช่น การปลูกผัก เลี้ยงสัตว์
  • สนับสนุนทุนการศึกษา หรือทุนพัฒนาทักษะอาชีพ

การดูแลระยะยาว

  • ประสานหน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอรับสวัสดิการ
  • มอบทุนพํฒนาทักษะอาชีพ
  • ระดมจิตอาสาจากชุมชนและชาวบ้านเพื่อร่วมให้การช่วยเหลือ
บริจาค